วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ASEN

"One  Vision,One  Identity, One Community"หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งเอกลักษณ์  หนึ่งประชาคม 





กำเนิดอาเซียน
       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
        ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ทำให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
        วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรม การกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
สัญลักษณ์ของอาเซียน  คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง หมายถึง   ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง    หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว    หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน· หมายถึง··สันติภาพและความมั่นคง
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
         ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร  อาเซียน ซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)
กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่
     (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน     (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก     (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก     (4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง     (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ     (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม     (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที     (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ     (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น

         กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรี เป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้

ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
           ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ

         ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)
         ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
         ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)

1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

(ASEAN Political and Security Community – APSC)
           มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งโดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ    
          1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคม วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
          2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้าน ครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกันโดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
          3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาคเช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ

2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(ASEAN Political-Security Community-AEC)
          มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน  เงินทุน  และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ
         1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
         2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)
         3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ
         4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค เพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน

3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 

(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)
          อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อ   ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน(ASEAN Identity)เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
      1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
      2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
      3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
      4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
      5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
      6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา
          ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

สาระสำคัญของปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือ

          ด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปันปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน  เน้นย้ำถึงบทบาทของการศึกษาในการสร้างประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ดังนี้
1. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาการเมืองและความมั่นคง
          สนับสนุนความเข้าใจและความตระหนักรับรู้เรื่องกฎบัตรอาเซียนให้มากขึ้นโดยผ่านหลักสูตรอาเซียน ในโรงเรียน และเผยแพร่กฎบัตรอาเซียนที่แปลเป็นภาษาต่างๆ ของชาติ ในอาเซียนให้เน้นในหลักการแห่งประชาธิปไตยให้มากขึ้น เคารพในสิทธิมนุษยชน และค่านิยมในเรื่องแนวทางที่สันติภาพในหลักสูตรของโรงเรียนสนับสนุน ความเข้าใจและความตระหนักรับรู้ในความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อในภูมิภาคในหมู่อาจารย์ผ่านการฝึกอบรม โครงการแลกเปลี่ยน และการจัดตั้งข้อมูลพื้นฐานออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องนี้จัดให้มีการประชุมผู้นำโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคอาเซียนที่หลากหลาย การสร้างศักยภาพและเครือข่าย รวมทั้งยอมรับการดำรงอยู่ของเวทีโรงเรียนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia School Principals’ Forum: SEA-SPF)


2. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาเศรษฐกิจ
         พัฒนาพัฒนากรอบทักษะภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อช่วยสนับสนุนการมุ่งไปสู่การจัดทำการยอมรับทักษะในอาเซียนสนับสนุนการขับเคลื่อนของนักเรียนนักศึกษาให้ดีขึ้นโดยการพัฒนาบัญชีรายการระดับภูมิภาคของอุปกรณ์สารนิเทศด้านการศึกษาที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดหาได้สนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือในภูมิภาคอาเซียน โดยผ่านกลไกความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งจะต้องดำเนินควบคู่ไปกับความพยายามในการปกป้องและปรับปรุงมาตรฐานทางด้านการศึกษาและวิชาชีพพัฒนามาตรฐานด้านอาชีพบนพื้นฐานของความสามารถในภูมิภาคอาเซียนโดยมุ่งไปที่การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมโดยประสานกับกระบวนการกรอบการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน
3. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาสังคมและวัฒนธรรม
         พัฒนาเนื้อหาสาระร่วมในเรื่องอาเซียนสำหรับโรงเรียนเพื่อใช้เป็นตัวอ้างอิงสำหรับการฝึกอบรมและการสอน   ของครูอาจารย์เสนอให้มีหลักสูตรปริญญาด้านศิลปวัฒนธรรมอาเซียนในมหาวิทยาลัยเสนอให้มีภาษาประจำชาติอาเซียน  ให้เป็นภาษาต่างประเทศวิชาเลือกในโรงเรียนสนับสนุนโครงการระดับภูมิภาคที่มุ่งเน้นที่การส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่เยาวชนรับรองการมีอยู่ของโครงการอื่นๆ เช่น การนำเที่ยวโรงเรียนอาเซียน โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาอาเซียน การประชุมเยาวชนอาเซียนด้านวัฒนธรรม การประชุมสุดยอดเยาวชนนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอาเซียน การประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และการประกวดสุนทรพจน์ระดับเยาวชนสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยการสนับสนุนการศึกษาสำหรับทุกคนจัดให้มีการประชุมวิจัยทางด้านการศึกษาอาเซียนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนาในภูมิภาคให้เป็นเวทีสำหรับนักวิจัยจากประเทศสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นและเรื่องที่เกี่ยวข้องของภูมิภาคสนับสนุนความเข้าใจและการตระหนักรับรู้ในประเด็นและเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียนโดยการบูรณาการให้อยู่ในหลักสูตรในโรงเรียน และการมอบรางวัลโรงเรียนสีเขียวอาเซียนเฉลิมฉลองวันอาเซียน (วันที่ 8 สิงหาคม)ในโรงเรียนโดยเฉพาะในเดือนสิงหาคมผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การร้องเพลงชาติอาเซียน การจัดการแข่งขันเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอาเซียนการจัดแสดงเครื่องหมายและสัญลักษณ์อื่นๆ ของอาเซียน การจัดค่ายเยาวชนอาเซียน เทศกาลเยาวชนอาเซียนและวันเด็กอาเซียนเห็นชอบที่จะเสนอในรัฐสมาชิกอาเซียนแบ่งปันทรัพยากรแก่กัน และพิจารณาการจัดตั้งกองทุนพัฒนาด้านการศึกษาของภูมิภาคเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างเพียงพอในการปฏิบัติการต่าง ๆได้ตามที่ได้รับการเสนอแนะมามอบหมายให้ องค์กรระดับรัฐมนตรีรายสาขาของอาเซียนที่เกี่ยวข้องและเลขาธิการอาเซียนดำเนินการปฏิบัติตามปฏิญญานี้โดยการให้แนวทางและสนับสนุนแผน 5 ปีของอาเซียนว่าด้วยเรื่องการศึกษา
         รวมทั้งข้อตกลงในการควบคุมดูแลที่ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการผู้แทนถาวรและรายงานต่อที่ประชุม สุดยอดอาเซียนเป็นประจำผ่านคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนทราบผลการคืบหน้าของการดำเนินการปฏิญาณว่าความมุ่งมั่นและข้อผูกพันของผู้นำอาเซียนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียนที่มีการเคลื่อนไหวประชาคมที่มีความเชื่อมโยงกัน และประชาคมของประชาชนอาเซียนและเพื่อประชาชนอาเซียน

นโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการดำเนินการด้านการศึกษาตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน
           จากการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่การบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ในปี 2558 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2553 ณ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผู้อำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และผู้แทนกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบร่างนโยบายเพื่อดำเนินงานตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ด้านการศึกษา จำนวน 5 นโยบาย ดังนี้
         นโยบายที่ 1 การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558
         นโยบายที่ 2  การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญการที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม และการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน รวมทั้งการพิจารณาแผนผลิตกำลังคน
         นโยบายที่ 3  การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ในอาเซียน  
รวมทั้งเพื่อให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพ ทั้งในขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิกของอาเซียน
           นโยบายที่ 4  การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่าง ๆ  เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษา ควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน
          นโยบายที่ 5  การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน


 ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)

บรูไนดารุสซาลาม : Brunei Darussalam
Head of State : His Majesty Sultan Haji Hassanal Bolkiah Mu'izzaddin Waddaulah 
Capital : Bandar Seri Begawan
Language(s) : Malay, English
Currency : B$ (Brunei Dollar)
Ministry of Foreign Affairs & Trade of Brunei Darussalam Website: http://www.mfa.gov.bn/  

 ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia
Head of State : His Majesty King Norodom Sihamoni
Head of Government : Prime Minister Hun Sen
Capital : Phnom Penh
Language : Khmer
Currency : Riel Ministry of Foreign Affairs & International Cooperation of Cambodia Website:
www.mfaic.gov.kh


สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
Head of State : President Susilo Bambang Yudhoyono
Capital : Jakarta
Language : Indonesian
Currency : Rupiah
Department of Foreign Affairs of Indonesia Website:
www.deplu.go.id 




สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic
Headof State : President Choummaly Sayasone 
Head of Government : Prime Minister Thongsing Thammavong
Capital : Vientiane
Language : Lao
Currency : Kip
Ministry of Foreign Affairs of Lao PDR Website:
www.mofa.gov.la



มาเลเซีย : Malaysia

Head of Government : The Honourable Dato' Sri Mohd Najib bin Tun Abdul Razak
Capital : Kuala Lumpur
Language(s) : Malay, English, Chinese, Tamil
Currency : Ringgit 
Ministry of Foreign Affairs of Malaysia Website:
www.kln.gov.myASEAN-Malaysia National Secretariat Website:
www.kln.gov.my/myasean

  

สาธารณรัฐแห่งสหภาพหม่า : Republic of the Union of Myanmar

Head of State : Senior General Than Shwe
Head of Government : Prime Minister General Thein Sein
Capital : Nay Pyi Daw
Language : Myanmar
Currency : Kyat 
Ministry of Foreign Affairs of Myanmar Website:
www.mofa.gov.mm



สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine

Head of State : President Benigno S. Aquino III
Capital : Manila
Language(s) : Filipino, English, Spanish
Currency : Peso
Department of Foreign Affairs of the Philippines Website:
www.dfa.gov.ph

  

สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore
Head of State : President Tony Tan Keng Yam
Head of Government : Prime Minister Lee Hsien Loong
Capital : Singapore
Language(s) : English, Malay, Mandarin, Tamil
Currency : S$ (Singapore Dollar)
Ministry of Foreign Affairs of Singapore Website:
www.mfa.gov.sg


ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand
Head of State : His Majesty King Bhumibol Adulyadej
Head of Government : Prime Minister Yingluck Shinawatra
Capital : Bangkok
Language : Thai
Currency : Baht
Ministry of Foreign Affairs of Thailand Website:
www.mfa.go.th


 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม  : Socialist Republic of Vietnam
Head of State : President Truong Tan Dang
Head of Government : Prime Minister Nguyen Tan Dung
Capital : Ha Noi
Language : Vietnamese
Currency : Dong
Ministry of Foreign Affairs of Viet Nam Website:
www.mofa.gov.vn
 

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

งานพิเศษ...

งานพิเศษชิ้นที่ 1: รายงานผลการเลือกตั้ง'54
รายงานผลการเลื่อกตั้ง 3 ก.ค. 54 อย่างเป็นทางการ
ข้อมูลทั่วไป 
         

นับคะแนนไปแล้ว100 %
จำนวนผู้มาใช้สิทธิ35,203,107 คน75.03 %
ไม่ประสงค์ลงคะแนน (แบ่งแขต)1,419,088 บัตร4.03 %
ไม่ประสงค์ลงคะแนน (บัญชีรายชื่อ)958,052 บัตร2.72 %
บัตรเสีย (แบ่งแขต)2,039,694 บัตร5.79 %
บัตรเสีย (บัญชีรายชื่อ)1,726,051 บัตร4.9  %

     คะแนนแบบบัญชีรายชื่อ



พรรคคะแนนร้อยละที่นั่ง
พรรคเพื่อไทย (พท.)15,743,41048.0%61
พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)11,433,50135.1%44
พรรคภูมิใจไทย (ภท.)1,281,5224.03%5
พรรครักประเทศไทย (ชูวิทย์)998,5273.0%4
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.)494,8941.6%2


           พรรคการเมืองที่ได้คะเเนนสูงสุด 5 อันดับแรก
       

อันดับพรรคการเมืองจำนวนที่นั่งแบบแบ่งแขตจำนวนที่นั่งแบบบัญชีรายชื่อจำนวนที่นั่งรวม
1พรรคเพื่อไทย (พท.)20461265
2พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)11544159
3พรรคภูมิใจไทย (ภท.)29534
4พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.)15419
5พรรคหลังชล617
5พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน (ชพน.)527

พรรคร่วมรัฐบาล
    เพื่อไทยได้                                                       262 คน
    ชาติไทยพัฒนาได้                                           19 คน
    ชาติพัฒนาแผ่นดินได้                                      9 คน
    พลังชลได้                                                        7 คน
    มหาชนได้                                                        1 คน
    ประชาธิปไตยใหม่ได้                                       1 คน
   รวมทั้งสิ้นพรรคร่วมรัฐบาลมีสส.                       300 
คน


งานพิเศษชิ้นที่ 2: มรดกโลก

  
                มรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1, 200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น
สถิติ
ในปัจจุบัน มีมรดกโลกทั้งหมด 911 แห่ง ใน 151 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และอีก 27 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท โดยมีการแบ่งออกเป็น 5 พื้นที่ ได้แก่ แอฟริกา อาหรับ เอเชียแปซิฟิก ยุโรป - อเมริกาเหนือ และ อเมริกาใต้ - แคริบเบียน
  • หมายเหตุ มรดกโลกในประเทศตุรกีและรัสเซียนั้น นับรวมเข้ากับทวีปยุโรป
ตารางจำนวนของมรดกโลกแบ่งตามทวีป
ทวีป
มรดกโลกทางธรรมชาติ
มรดกโลกทางวัฒนธรรม
มรดกโลกผสม
มรดกโลกทั้งหมด
แอฟริกา
32
42
4
78
อาหรับ
4
61
1
66
เอเชีย-แปซิฟิก
51
138
9
198
ยุโรป และ อเมริกาเหนือ
58
377
10
444
ละตินอเมริกา และ แคริบเบียน
35
86
3
124
รวม
180
704
27
911
ลำดับของประเทศที่มีแหล่งมรดกโลกมากที่สุด
ลำดับ
ประเทศ
ธรรมชาติ
วัฒนธรรม
ผสม
รวม
1
ธงของประเทศอิตาลี อิตาลี
2
42
0
44
2
ธงของประเทศสเปน สเปน
3
36
2
41
3
ธงของสาธารณรัฐประชาชนจีน จีน
8
28
4
40
4
ธงของประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
3
31
1
35
5
ธงของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เยอรมนี
2
32
0
34
6
ธงของประเทศเม็กซิโก เม็กซิโก
4
27
0
31
7
ธงของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร
4
23
1
28
8
ธงของสาธารณรัฐอินเดีย อินเดีย
5
23
0
28
9
ธงของสหพันธรัฐรัสเซีย รัสเซีย
9
15
0
24
10
ธงของสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา
12
8
1
21

ขั้นตอนการเสนอชื่อสถานที่
ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ (World Conservation Union) แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

               

         ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นมรดกโลก

กระทั่งปี พ.ศ. 2548 มีข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ทั้งหมด 6 ข้อสำหรับมรดกโลกทางวัฒนธรรม และ 4 ข้อสำหรับมรดกโลกทางธรรมชาติในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลกดังนี้


หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม

    1.      เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์
    2.      เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม
    3.      เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
    4.      เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
    5.      เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา
    6.      มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์


หลักเกณฑ์ทางธรรมชาติ

     1.     เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง

     2.     เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได

     3.     เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา

     4.     เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย


การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ
                คณะกรรมการมรดกโลกจะมีการประชุมร่วมกันหลายครั้งในแต่ละปี เพื่ออภิปรายถึงแผนการจัดการเกี่ยวกับแหล่งมรดกโลกที่ยังคงอยู่ และรับรายชื่อสถานที่ที่ประเทศต่างๆเสนอให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และจะมีการประชุมครั้งหนึ่งที่เรียกว่า การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ (World Heritage Committee Session) ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่ได้รับการเสนอชื่อแห่งใดที่จะได้รับการขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ
การประชุมสมัยสามัญประจำปีจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันจัดในเมืองสำคัญต่างๆจากทั่วโลก ซึ่งนอกจากครั้งที่จัดขึ้นที่กรุงปารีส อันเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ขององค์การยูเนสโกแล้ว จะมีเพียงประเทศที่สมาชิกของคณะกรรมการมรดกโลกเท่านั้นที่จะได้รับสิทธิในการจัดการประชุมครั้งต่อไป โดยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ และรับรองได้ว่าสมาชิกภาพของประเทศนั้นๆจะไม่หมดวาระลงเสียก่อนที่จะได้จัดการประชุม
ครั้งที่
ปี (พ.ศ.)
วันที่
สถานที่
ประเทศเจ้าภาพ
1
2520
27 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม
ปารีส
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
2
2521
5 กันยายน - 8 กันยายน
วอชิงตัน ดี. ซี.
Flag of the United States สหรัฐอเมริกา
3
2522
22 ตุลาคม - 26 ตุลาคม
ไคโร และ ลักซอร์
ธงชาติของอียิปต์ อียิปต์
4
2523
1 กันยายน - 5 กันยายน
ปารีส
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
5
2524
26 ตุลาคม - 30 ตุลาคม
ซิดนีย์
ธงชาติของออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
6
2525
13 ธันวาคม - 17 ธันวษาคม
ปารีส
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
7
2526
5 ธันวาคม - 9 ธันวาคม
ฟลอเรนซ์
ธงชาติของอิตาลี อิตาลี
8
2527
29 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน
บัวโนสไอเรส
ธงชาติของอาร์เจนตินา อาร์เจนตินา
9
2528
2 ธันวาคม - 6 ธันวาคม
ปารีส
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
10
2529
24 พฤศจิกายน - 28 พฤศจิกายน
ปารีส
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
11
2530
7 ธันวาคม - 11 ธันวาคม
ปารีส
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
12
2531
5 ธันวาคม - 9 ธันวาคม
บราซิเลีย
ธงชาติของบราซิล บราซิล
13
2532
11 ธันวาคม - 15 ธันวาคม
ปารีส
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
14
2533
7 ธันวาคม - 12 ธันวาคม
แบนฟ์
ธงชาติของแคนาดา แคนาดา
15
2534
9 ธันวาคม - 13 ธันวาคม
คาร์เทจ
ธงชาติของตูนิเซีย ตูนิเซีย
16
2535
17
2536
6 ธันวาคม - 11 ธันวาคม
การ์ตาเฮนา
ธงชาติของโคลอมเบีย โคลอมเบีย
18
2537
12 ธันวาคม - 17 ธันวาคม
ภูเก็ต
ธงชาติของไทย ไทย
19
2538
4 ธันวาคม - 9 ธันวาคม
เบอร์ลิน
ธงชาติของเยอรมนี เยอรมนี
20
2539
2 ธันวาคม - 7 ธันวาคม
เมรีดา
ธงชาติของเม็กซิโก เม็กซิโก
21
2540
1 ธันวาคม - 6 ธันวาคม
เนเปิลส์
ธงชาติของอิตาลี อิตาลี
22
2541
30 ธันวาคม - 5 ธันวาคม
เกียวโต
ธงชาติของญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
23
2542
29 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม
มาร์ราเกช
ธงชาติของโมร็อกโก โมร็อกโก
24
2543
27 ธันวาคม - 2 ธันวาคม
แครนส
ธงชาติของออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
25
2544
11 ธันวาคม - 16 ธันวาคม
เฮลซิงกิ
ธงชาติของฟินแลนด์ ฟินแลนด์
26
2545
24 มิถุนายน - 29 มิถุนายน
บูดาเปสต์
ธงชาติของฮังการี ฮังการี
27
2546
30 มิถุนายน - 5 กรกฎาคม
ปารีส
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส
28
2547
28 มิถุนายน - 7 กรกฎาคม
ซูโจว
Flag of the People's Republic of China จีน
29
2548
10 กรกฎาคม - 17 กรกฎาคม
เดอร์บัน
ธงชาติของแอฟริกาใต้ แอฟริกาใต้
30
2549
8 กรกฎาคม - 16 กรกฎาคม
วิลนีอุส
ธงชาติของลิทัวเนีย ลิทัวเนีย
31
2550
23 มิถุนายน - 1 กรกฎาคม
ไครสต์เชิร์ช
ธงชาติของนิวซีแลนด์ นิวซีแลนด์
32
2551
2 กรกฎาคม - 10 กรกฎาคม
เมืองควิเบก
ธงชาติของแคนาดา แคนาดา
33
2552
22 มิถุนายน - 30 มิถุนายน
เซบียา
ธงชาติของสเปน สเปน
34
2553
25 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม
บราซิเลีย
ธงชาติของบราซิล บราซิล
35
2554
19 มิถุนายน - 29 มิถุนายน
ปารีส
ธงชาติของฝรั่งเศส ฝรั่งเศส

         

          แหล่งมรดกในประเทศไทย

      1. เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร
               อุทยานประวัติศาสตร์ที่ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
                                1.  อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
                                2.   อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
                                3 .  อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
                เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก
   อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร " ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
    1. เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการกระทำอันแสนฉลาด
    2. เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

             2.  อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
          อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการพิจารณาเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2534
เหตุผลที่ได้รับคัดเลือกเป็นมรดกโลก
            อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกภายใต้ชื่อ "นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวาร" ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 เมื่อปี พ.ศ. 2534 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์พิจารณาให้เป็นมรดกโลก ดังนี้
            1. เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

           3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง

           
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง เป็นแหล่งมรดกโลกของประเทศไทยโดยการลงทะเบียนของยูเนสโก ระหว่างวันที่ 9-13 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ณ เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนีเซีย กินพื้นที่ครอบคลุม 6 อำเภอ ของ 3 จังหวัด ได้แก่ อำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก อำเภอห้วยคต จ. อุทัยธานี อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี และอำเภออุ้มผาง จ.ตาก มีพื้นที่ 4,046,747 ไร่ หรือ 6,427 ตารางกิโลเมตร
                เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
   1.   เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร มีพื้นที่ 3,647 ตารางกิโลเมตร
   2.  เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มีพื้นที่ 2,780 ตารางกิโลเมตร
                ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นมรดกโลก
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2534 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 15 ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
                1.   เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
                2.  เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
                3.  เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย


      4. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง

     แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง  เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหานจังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปี
ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตและสร้างสังคม-วัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียงได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่ง ซึ่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโกของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก
เหตุผลที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้จดทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 16 ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
1.   เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

      5. ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
   มรดกโลก ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ เป็นมรดกโลกแหล่งที่ 5 ของไทย และเป็นอันดับที่ 2 ของมรดกทางธรรมชาติไทย ได้รับการลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 10-17 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ณ เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ ประกอบไปด้วย อุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอีก 1 แห่ง กินพื้นที่อยู่ใน 6 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา สระบุรี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้นราว 3,874,863 ไร่ หรือ 6,155 ตารางกิโลเมตร ถูกเรียกว่าเป็น ผืนป่าตะวันออก ซึ่งเปรียบเทียบกับผืนป่าตะวันตก ในเขตจังหวัดตาก และรอบๆ
                สถานที่ที่ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
     1. อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
     2. อุทยานแห่งชาติทับลาน
     3. อุทยานแห่งชาติปางสีดา
     4. อุทยานแห่งชาติป่าดงใหญ่
มรดกโลก - ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่              
แหล่งมรดกโลกเขาใหญ่ ดงพญาเย็นนั้น เป็นผืนป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยมีสภาพป่าแบบต่างๆ ตั้งแต่ ป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้า
พื้นที่ตรงผืนป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นั้น เคยได้รับการเสนอชื่อขึ้นไปครั้งหนึ่งแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2533 แล้ว ซึ่งในขณะนั้นได้เสนอแหล่งธรรมชาติอีก 3 แหล่งสู่ที่ประชุมองค์การยูเนสโกเพื่อพิจารณา คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง และอุทยานแห่งชาติตะรุเตา และปรากฏว่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเพียงแห่งเดียว ด้วยเหตุที่ว่าอุทยานแห่งชาติที่เหลือทั้ง 2 แห่งนั้น เล็กเกินไป และยังมีนโยบายที่แม่แน่นอนและไม่เพียงพอ
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นแหล่งที่มีชนิดพันธุ์ของพืช และสัตว์ที่ไม่สามารถพบได้ที่อื่นเป็นจำนวนมาก โดยในจำนวนพืชราว 15,000 ชนิดที่พบในประเทศไทย สามารถพบในแหล่งมรดกโลกนี้ถึง 2,500 ชนิด มีพืชเฉพาะผืนป่านี้ถึง 16 ชนิด มีสัตว์ป่ากว่า 800 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 112 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกว่า 209 ชนิด นกกว่า 392 ชนิด และนกเงือก 4 ชนิด ใน 6 ชนิดที่พบในประเทศไทย


ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นมรดกโลก


อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงรัก ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่" ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 29 เมื่อปี พ.ศ. 2548 ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ โดยผ่านข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลก ดังนี้
1. เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

ข้อที่ควรจะปรับปรุง

ยูเนสโกได้เสนอข้อเสนอแนะตามมาอีก 7 ข้อ หลังจากได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลก ได้แก่
1.     ให้มีการจัดระบบการจัดผืนป่าทั้งหมดแบบบูรณาการ ไม่ใช่แยกจัดแบบต่างคนต่างดูแลเหมือนเช่นที่ผ่านมา
2.     รัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณ และทรัพยากรบุคคล เพื่อการบริหารจัดการพื้นป่าอย่างเต็มที่
3.     ดูแลนโยบายและการปฏิบัติใหสอดคล้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน
4.     ต้องให้การส่งเสริมการสำรวจ และวิจัยสถานภาพของป่า และสัตว์ป่าอย่างจริงจัง
5.     จะต้องหาหนทางเชื่อมผืนป่าต่างๆเข้าด้วยกัน โดยการเชื่อมต่อกับป่าอนุรักษ์ในกัมพูชา
6.     ต้องหาทางแก้ปัญหาถนนที่ตัดแยกผืนป่าออกจากกัน โดยจะต้องศึกษา และหามาตรการให้ผืนป่าเชื่อมต่อกันภายในปี พ.ศ. 2550
ดำเนินกิจกรรมที่เสริมสร้างความร่วมมือจากชาวบ้าน และชุมชนในการอนุรักษ์ผืนป่า เพื่อเป็นหลักประกันในสถานภาพมรดกโลก


สาเหตุที่ไทยลาออกจากการเป็นมรดกโลก

     ที่มา -  มติชนออนไลน์ รวบรวมทัศนะและความเห็นกรณีประเทศไทยยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกและกรรมการมรดกโลก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ที่ประเทศฝรั่งเศส หลังจากศูนย์มรดกโลกและยูเนสโกไม่ได้ฟังข้อทักท้วงของไทยกรณีนำแผนการบริหารจัดการเขาพระวิหารเข้าสู่ที่ประชุม เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี

"..การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกเมื่อคืนที่ผ่านมา (25 มิถุนายน) รัฐมนตรีสุวิทย์ (คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) เดินออกจากที่ประชุมและแสดงเจตนาการถอนตัวออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก การดำเนินการทั้งหมดอยู่ในกรอบมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) และผ่านการปรึกษาหารือ เมื่อคืนที่ผ่านมาผมได้คุยกับท่านสุวิทย์ทางโทรศัพท์หลายครั้งและประสานกับรัฐมนตรีกษิต (ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) ด้วย


ประเทศไทยแสดงจุดยืนชัดเจนว่าไม่ต้องการให้ที่ประชุมพิจารณาแผนบริหารจัดการที่กัมพูชาจะเสนอกับที่ประชุม และในช่วงที่มีการประสานกับ ผอ.ยูเนสโก และผู้แทนพิเศษฯนั้น มีการยืนยันกับไทยมาตลอดว่าจะไม่มีการพิจารณาแผนดังกล่าว กระทั่งในช่วงการประชุมหลายวันที่ผ่านมา ร่างข้อมติชัดเจนว่าที่ประชุมตัดสินใจเลื่อนการพิจารณาแผนดังกล่าว แต่ปรากฏว่าก่อนที่จะนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมมีการนำเสนอร่างข้อมติเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ซึ่งกัมพูชาเสนอขึ้นแม้จะไม่ได้พูดแผนบริหารจัดการพื้นที่ชัดเจน แต่กำกวม และเราได้ปรึกษาเเล้วและเห็นว่ายอมรับไม่ได้ ที่ประชุมต้องการนำร่างมติสองฝ่ายไปพิจารณาในที่ประชุม ไทยเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องเพราะมีการพูดกันมาตลอดว่าต้องไม่มีการตัดสินใจเรื่องนี้ ต้องมีความชัดเจนว่าต้องเลื่อนออกไปและระบุไว้ในข้อบังคับการประชุม"


ขอขอบคุณผู้แทนหลายประเทศและ ผอ.ยูเนสโก ที่พยายามหาทางประนีประนอมให้ร่างข้อมติเป็นที่ยอมรับได้ก่อนที่จะนำเสนอต่อที่ประชุม เช่น ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส บราซิล และอียิปต์ ที่พยายามประนีประนอม และผู้แทนจากสวิสนั้นเมื่อวาระนี้เข้าสู่ที่ประชุมได้บอกไปว่าอยากให้วาระนี้มีการประนีประนอมและแจ้งไปว่าผมกำลังรอคุยโทรศัพท์กับ ผอ.ยูเนสโก แต่ปรากฏว่าที่ประชุมตัดสินใจเดินหน้าต่อไป ฉะนั้นท่านสุวิทย์จึงตัดสินใจแถลงเจตนาเดินออกจากที่ประชุมและถอนตัวออกการเป็นภาคี

"การดำเนินการทั้งหมดเป็นไปตามมติ ครม. อย่างไรก็ตาม เมื่อท่านสุวิทย์เดินออกจากที่ประชุม ที่ประชุมมีมติตัดข้อความที่กัมพูชาเสนอในย่อหน้าที่เป็นปัญหา ฉะนั้นในชั้นนี้ยังไม่มีการพิจารณาแผนบริหารพื้นที่ของกัมพูชาแต่ประการใด การดำเนินการต่อไปจะเป็นหน้าที่รัฐบาลใหม่ที่จะดำเนินการถอนตัวจากกรรมการมรดกโลก แต่ระหว่างนี้ยูเนสโกสามารถปรึกษาหารือกับไทยได้เกี่ยวกับการดำเนินการต่อไป โดยไทยจะยืนยันว่าหากจะฟื้นฟูบูรณะใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับดินแดนไทย ต้องได้รับความยินยอมจากไทยและไทยยืนยันเสมอว่ากัมพูชาต้องถอนทหารออกจากปราสาททั้งหมด ไม่เช่นนั้นจะถือว่าขัดต่อสนธิสัญญาและเจตนารมณ์ของกรรมการมรดกโลกด้วย"


การดำเนินการมาทั้งหมดนั้นยืนยันว่าไม่สูญเปล่าแน่นอน มิตรประเทศ คือ 5 ประเทศข้างต้นก็ช่วยไทยจริงจังและน่าจะเข้าใจจุดยืนของไทยมากขึ้น ผมเชื่อว่าการทำความเข้าใจมาตลอดมันเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ในที่สุดมติที่ประชุมก็ไม่ใส่ร่างข้อมติปัญหาที่กัมพูชาเสนอ"

นายสุวิทย์ คุณกิตติ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


"การที่ไทยลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว ผลใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นจากการกระทำของสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกก็จะไม่มีผลผูกพันต่อประเทศไทย หมายความว่าทางคณะกรรมการมรดกโลกจะให้กัมพูชาเข้าดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เป็นการรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยไม่ได้เป็นอันขาด หากว่ามีการประกาศขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลก และยอมรับแผนการจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของกัมพูชา บางส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในฝ่ายไทยนั้น ต้องมีการขออนุญาตรัฐบาลไทยก่อน จะกระทำการใดๆ ไม่ได้ เนื่องจากไทยไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของคณะกรรมการมรดกโลก และไม่มีผลผูกพันใดๆ


การตัดสินใจลาออกในครั้งนี้ ได้ไตร่ตรองและผ่านการศึกษาอย่างรอบคอบ รวมถึงได้โทรศัพท์พูดคุยนายกรัฐมนตรี รับทราบการตัดสินใจและเห็นว่ารัฐบาลไทยไม่มีทางเลือกในการลาออกจากกรรมการมรดกโลก


การถอนตัวออกจากภาคีสมาชิกอนุสัญญาการคุ้มครองมรดกโลกนั้น ไม่มีข้อเสีย มีแต่ข้อดี เพราะทำให้ไทยไม่ต้องผูกพันกับข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลก ถ้าเรายอมรับตามแผนบริหารจัดการดังกล่าว ก็เท่ากับว่ายินยอมเห็นชอบ ทำให้กัมพูชาหยิบยกเป็นข้ออ้างเป็นหลักฐานไปสู้คดีในศาลโลกได้ ไม่ถือว่าการเดินทางไปครั้งนี้ปฏิบัติหน้าที่ล้มเหลว เราทำหน้าที่ปกป้องอธิปไตยไทยอย่างเต็มที่


อย่างไรก็ตาม การถอนตัวจากสมาชิกภาคีอนุสัญญาฯ ไม่มีผลต่อมรดกโลกของไทยที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว เช่น เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง หรือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แต่จะมีผลกับสิ่งที่ขอขึ้นทะเบียนใหม่เท่านั้น ทั้งนี้ แหล่งมรดกโลกจะถูกถอดถอนหากไม่ดูแลรักษาตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการมรดกโลก

พวงทอง ภวัครพันธุ์
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

"ขณะนี้ยังไม่ได้เห็นคำแถลงและเหตุผลที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ กล่าวอ้างชัดๆ แต่ได้ยินตามสื่อทีวีบางช่องที่รายงานว่า เป็นเพราะฝ่ายไทยไม่สบายใจกับคำว่า Urgent repairs. (เร่งซ่อมแซมอย่างเร่งด่วน) และ Restoration. (บูรณะ) โดยต้องการให้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Protect (ป้องกัน) หรือ Conservation (อนุรักษ์) แทน เนื่องจากการซ่อมแซมอาจเกินเข้ามาในพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งดิฉันเห็นว่าถ้ามีการอ้างเหตุผลแบบนี้ จะเป็นการเข้าใจผิด เพราะการซ่อมแซมสามารถขึ้นทางฝั่งตะวันออกของปราสาทได้ และการซ่อมตัวปราสาทไม่ได้เกี่ยวกับพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร และขอบปราสาทก็มีรั้วอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่เข้าใจว่าทำไมถึงคัดค้าน 2 คำนี้

และคิดว่าการยื่นจดหมายลาออก น่าจะเป็นการที่คุณสุวิทย์ปกป้องตัวเองมากกว่า เพราะไม่สามารถยับยั้งแผนบริหารจัดการที่กัมพูชาเสนอได้ จึงกลัวถูกโจมตีเลยยื่นลาออกเพื่อตอบโต้ ซึ่งทำให้ฝ่ายชาตินิยมสะใจไปด้วย

การยื่นลาออกจากการเป็นภาคี ไม่ได้เป็นผลดี เพราะกระทบกับมรดกโลกของไทยที่ขึ้นทะเบียนไว้อีกหลายแห่ง เมื่อเราไม่ได้เป็นภาคีแล้ว แม้อนุสัญญาการเป็นภาคีกรรมการมรดกโลกจะไม่ได้ระบุว่า สถานที่อื่นๆ จะหมดไปด้วย แต่ระยะยาวจะมีผลเพราะสถานที่ที่เป็นมรดกโลกต้องรายงานคณะกรรมการตลอด ถ้าเราออกมา ก็ไม่ต้องรายงานและคณะกรรมการก็ไม่ต้องเข้ามาดู อย่างไรก็ดี เท่าที่ตรวจสอบอนุสัญญา การลาออกไม่ได้มีผลทันที แต่จะมีผลในอีก 12 เดือน ซึ่งถ้ารัฐบาลใหม่เข้ามาก็อาจเปลี่ยนใจขอถอนจดหมายลาออกได้ ตรงนี้ก็น่าจะเป็นแนวทางที่รัฐบาลใหม่ควรทำ"

ที่ผ่านมารัฐบาลไทยทำให้คนไทยเข้าใจผิดมาตลอดในหลายประเด็น อาทิ ตอนที่คณะกรรมการเชิญไทยเป็นกรรมการบริหารจัดการแผนร่วม แต่ไทยก็ถอนตัวออกมา ทั้งที่ตามอนุสัญญาการเป็นภาคีกรรมการมรดกโลกคือ ข้อตกลงที่เจ้าของทรัพย์สินมรดกโลกจะให้กรรมการมรดโลก มาช่วยให้คำแนะนำ ดูแลให้สถานที่นั้นๆ เข้าสู่มาตรฐาน แต่คณะกรรมการยังเคารพอธิปไตยของประเทศนั้นๆ

ฉะนั้นเมื่อไทยถอนตัวออกมาจึงไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในนี้ นอกจากนี้ ถ้าดูแผนที่ที่กัมพูชาเสนอเป็นแผนบริหารจัดการ ก็ไม่มีในส่วนที่ยื่นเข้าในพื้นที่ 4.6 ตารากิโลเมตร ฉะนั้น ถ้ายังพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีการล้ำเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าว คณะกรรมการก็ย่อมไม่ฟังคำทักท้วงของไทย

นอกจากนี้ ไทยไม่เคยแสดงภาพหรือหลักฐานชัดๆ ว่ามีการล้ำเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าว มีแต่คนของทางรัฐบาลพูดกันไป และที่สำคัญ ไทยยังเข้าใจเรื่องแผนบริหารจัดการผิด สิ่งที่ไทยค้านมา 2 ปีตามที่มีการเสนอข่าว อันที่จริงคือ คณะกรรมการมรดกโลกยังไม่ได้พิจารณาลงในรายละเอียดของแผน แต่เป็นการพิจารณาเพื่อรับทราบเฉยๆ ว่ามีแผน เพราะกรรมการมีเรื่องพิจารณาเยอะ จึงไม่ได้มาพิจารณาลงในรายละเอียด เพราะต้องลงพื้นที่ดูว่าได้ปฏิบัติไปตามแผนจริงหรือไม่ อย่างไรก็ดี เมื่อมีกรณีนี้เกิดขึ้นคิดว่าปัญหาปราสาทพระวิหาร คงยืดเยื้อ

นายอดุล วิเชียรเจริญ
อดีตคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ


"..เท่าที่ทราบยังไม่มีประเทศใดถอนตัวออกจากภาคีสมาชิก ไทยเป็นประเทศแรกที่ลาออกจาก ซึ่งการถอนตัวออกจากภาคีสมาชิกอนุสัญญามรดกโลกนั้นจะไม่กระทบต่อแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่ได้รับการประกาศเป็นมรดกโลก และจะไม่ถูกถอดถอนและจะไม่เสียฐานะยังคงเป็นอยู่ต่อไป ส่วนที่ว่าหากไทยจะขอกลับไปเป็นภาคีสมาชิกอีกครั้งทำได้หรือไม่ ผมมองว่าในเมื่อไทยตัดสินใจลาออกมาแล้วก็ไม่มีเหตุผลอะไรต้องกลับไปอีก ที่ผ่านมาที่ไทยยอมเป็นภาคีมรดกโลก


เนื่องจากตอนนั้นการพิจารณามรดกโลกเป็นไปอย่างเคร่งครัด แต่มาภายหลังไม่มีหลักเกณฑ์ชัดเจน
การที่ไทยถอนตัวไม่เป็นภาคีมรดกโลกแล้วจะสามารถเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติให้เป็นมรดกโลกได้หรือไม่ ตามหลักสากล หรือในข้อกำหนดของยูเนสโกไม่ได้เขียนระบุไว้ว่า หากถอนตัวแล้วจะไม่สามารถเสนอขอเป็นมรดกโลก แต่โดยหลักการแล้ว ในเมื่อเราปฏิเสธกลไกดังกล่าวไปแล้ว เราก็ไม่ควรเสนอเป็นมรดกโลก

ผมมองว่าไม่มีความจำเป็นและไม่เห็นต้องอาศัยชื่อความเป็นมรดกโลก เพราะไม่ได้ทำให้พื้นที่ของประเทศไทยดีขึ้น เป็นเพียงสัญลักษณ์ทางชื่อเท่านั้น.